วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดูดิ



การศึกษาผลของอายุและน้ำหนักแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝด  
ธนจิตร์ ฮุ่นตระกูล และ สุพร คงเกตุ  
บทคัดย่อ  
            การศึกษาผลของ อายุแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝดโดยใช้แพะลูกผสม พันธุ์บอร์ จำนวน 45 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามอายุแพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรก คือ 4 8 และ 10 เดือน และศึกษาผลของน้ำหนักแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝด  โดยใช้แพะลูกผสมพันธุ์บอร์  28 ตัว ของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนครศรีธรรมราชแบ่งเป็น  2  กลุ่ม  ตามช่วงน้ำหนัก คือ 15 – 19 และ 20 – 25 กิโลกรัม     ทดสอบความแตกต่างของการให้ลูกแฝด โดยใช้การทดสอบทางสถิติแบบไคสแควร์  พบว่า มีแพะที่ให้ลูกแฝดเท่ากับ 0  2 และ 2 แม่ในแพะกลุ่มที่มีอายุผสมพันธุ์ครั้งแรก 4  8  และ 10 เดือน ตามลำดับ จากการทดสอบทางสถิติ พบว่า การเกิดลูกแฝดเมื่อผสมพันธุ์แพะครั้งแรกที่อายุ 4  8  และ 10 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)    และพบว่าการเกิดลูกแฝดในการผสมแม่พันธุ์แพะครั้งแรกที่น้ำหนักตัว 15 – 19 และ 20 – 25  กิโลกรัม เท่ากับ 1 และ 2 ตัวตามลำดับ จากการทดสอบทางสถิติ พบว่า น้ำหนักเมื่อผสมครั้งแรก มีผลต่อการทำให้เกิดลูกแฝดที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)  และจากการศึกษาอัตราการตายของลูกแพะก่อนหย่านม ( 3 เดือน )  พบว่า จากจำนวนลูกแพะทั้งหมด 37 ตัว แบ่งเป็น ลูกแพะโทน จำนวน 31 ตัว และ ลูกแพะแฝด จำนวน 6 ตัว มีลูกแพะตาย จำนวน 3 และ 1 ตัว ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการตายของลูกแพะก่อนหย่านม เท่ากับ 9.68 และ 16.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
การศึกษาผลของอายุและน้ำหนักแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝด  
ธนจิตร์ ฮุ่นตระกูล และ สุพร คงเกตุ  
บทคัดย่อ  
            การศึกษาผลของ อายุแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝดโดยใช้แพะลูกผสม พันธุ์บอร์ จำนวน 45 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามอายุแพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรก คือ 4 8 และ 10 เดือน และศึกษาผลของน้ำหนักแม่พันธุ์แพะที่ใช้ผสมพันธุ์ครั้งแรกต่อการให้ลูกแฝด  โดยใช้แพะลูกผสมพันธุ์บอร์  28 ตัว ของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนครศรีธรรมราชแบ่งเป็น  2  กลุ่ม  ตามช่วงน้ำหนัก คือ 15 – 19 และ 20 – 25 กิโลกรัม     ทดสอบความแตกต่างของการให้ลูกแฝด โดยใช้การทดสอบทางสถิติแบบไคสแควร์  พบว่า มีแพะที่ให้ลูกแฝดเท่ากับ 0  2 และ 2 แม่ในแพะกลุ่มที่มีอายุผสมพันธุ์ครั้งแรก 4  8  และ 10 เดือน ตามลำดับ จากการทดสอบทางสถิติ พบว่า การเกิดลูกแฝดเมื่อผสมพันธุ์แพะครั้งแรกที่อายุ 4  8  และ 10 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)    และพบว่าการเกิดลูกแฝดในการผสมแม่พันธุ์แพะครั้งแรกที่น้ำหนักตัว 15 – 19 และ 20 – 25  กิโลกรัม เท่ากับ 1 และ 2 ตัวตามลำดับ จากการทดสอบทางสถิติ พบว่า น้ำหนักเมื่อผสมครั้งแรก มีผลต่อการทำให้เกิดลูกแฝดที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)  และจากการศึกษาอัตราการตายของลูกแพะก่อนหย่านม ( 3 เดือน )  พบว่า จากจำนวนลูกแพะทั้งหมด 37 ตัว แบ่งเป็น ลูกแพะโทน จำนวน 31 ตัว และ ลูกแพะแฝด จำนวน 6 ตัว มีลูกแพะตาย จำนวน 3 และ 1 ตัว ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการตายของลูกแพะก่อนหย่านม เท่ากับ 9.68 และ 16.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของเกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อการดำเนินงาน โครงการเกษตรเชิงพาณิชย์
เฉพาะกิจกรรมการเลี้ยงแพะเนื้อ 
ปัญญา  ธรรมศาล2/     ประยูร  ครองยุติ 2/ 
บทคัดย่อ 
                  การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาที่เกษตรกรพบ  ความพึงพอใจและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของเกษตรกรต่อ โครงการเกษตรเชิงพาณิชย์ เฉพาะกิจกรรมเลี้ยงแพะเนื้อ โดยมีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ เกษตรกรในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา  ปัตตานี  นราธิวาส  และสงขลา จำนวน 352 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ด้วยค่าทางสถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าไคสแควร์
                   ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่ร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  มีอายุเฉลี่ย 40 ปี นับถือศาสนาอิสลาม  จบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา  มีอาชีพหลักในการทำสวนยางพารา สวนผลไม้และปาล์มน้ำมัน มีประสบการณ์การเลี้ยงแพะเฉลี่ย 2.5 ปี  สาเหตุในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเพราะต้องการรายได้เสริม  ก่อนเข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ย  6,594 บาทต่อเดือน มีขนาดฟาร์มเฉลี่ย 27 ตัว      ในรอบปีที่ผ่านมาเกษตรกรมีการนำแพะมาใช้บริโภคและประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนาเฉลี่ย 2 ตัว มีการจำหน่ายแพะไปแล้วเฉลี่ย 2 ตัวต่อราย มีรายได้จากการจำหน่ายแพะโดยเฉลี่ยรายละ 6,483 บาท มีรายได้จากการจำหน่ายมูลแพะโดยเฉลี่ยรายละ 800 บาท  มีรายได้รวมเฉลี่ย รายละ 17,271 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงแพะเฉลี่ยรายละ 2,560 บาท   เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นที่มีความพึงพอใจสูงสุดได้แก่ การให้บริการของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ โดยเฉพาะการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการเลี้ยงแพะ ส่วนประเด็นที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการระดมหุ้นของกลุ่ม  ส่วนปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่พบในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพแพะ
                  ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รายได้รวมที่เกษตรกรได้จากการเลี้ยงแพะมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพรวมต่อดำเนินงานโครงการในระดับมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ เมื่อแยกความ พึงพอใจเป็นรายประเด็น พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ได้แก่  สาเหตุในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ขนาดฟาร์ม รายได้รวมและค่าใช้จ่ายในรอบปีที่ผ่านมากับความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้ จากการฝึกอบรบ ขนาดฟาร์มและค่าใช้จ่ายในรอบปีที่ผ่านมากับความพึงพอใจต่อการได้รับสนับสนุน ปัจจัยการผลิต สาเหตุในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการกับความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้า หน้าที่กรมปศุสัตว์ และรายได้รวมจากการเลี้ยงแพะในรอบปีที่ผ่านมากับความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน ของกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ